Title | : | รวมบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล |
Author | : | |
Rating | : | |
ISBN | : | - |
ISBN-10 | : | 9786169363705 |
Language | : | Thai |
Format Type | : | Paperback |
Number of Pages | : | 380 |
Publication | : | Published February 1, 2020 |
รวมบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล Reviews
-
สนุกมาก รวมบทความแปลของ ฮิโตะ ชไตเยิร์ล ผู้เขียนเป็นศิลปินที่จบปริญญาเอกด้านปรัชญา สนใจเรื่องจุดตัดระหว่างสื่อ (เธอทำงานแนวภาพเคลื่อนไหว) เทคโนโลยี และสังคม มีความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น และความรอบรู้ที่กว้างขวาง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ก็เห็นชัดเจนในบทความทุกชิ้นในเล่ม ซึ่งไม่มีเรื่องไหนอ่านง่ายเพราะสำนวนภาษา และการที่ผู้เขียนกระโดดข้ามศาสตร์ ข้ามหัวข้อไปมาอย่างชำนาญสนุกสนานแต่คนอ่านอาจปวดหัวได้ง่ายๆ ต้องขอบคุณกอง บ.ก. ที่ใส่เชิงอรรถอธิบายความ จัดเต็มมาเพิ่มความเข้าใจ และเชิงอรรถเหล่านี้ก็ไม่ได้กองรวมกันอยู่ท้ายเล่มหรือท้ายบท (ซึ่งจะเปิดอ่านยาก) แต่จัดวางไว้ตรง margin ติดขอบกระดาษ ติดกับข้อความที่มันทำหน้าที่ขยาย นอกจากนี้กอง บ.ก. ยังเพิ่มบทสนทนาส่งท้าย อภิธานศัพท์ที่แนะนำหนังสือและบทความให้ไปอ่านต่อมากมาย แถมบรรณานุกรมและดัชนีคำศัพท์สำคัญๆ ในเล่ม คือพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยให้คนอ่านเข้าใจเนื้อหาในเล่มมากขึ้น
อ่านรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง บางเรื่องก็ยากเกิน แต่บทความทุกเรื่องเปิดโลกและโลกทัศน์สุดๆ เพราะคนเขียนชวนให้คิดและเชื่อมโยงไปถึงประเด็นที่อาจไม่เคยคิดถึงมาก่อน และเข้าใจเลือกถ้อยคำและครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งถึงนัยของ “ภาษา” และ “การแปล” (บางช่วงในเล่มชวนให้คิดถึงงานของวิทเกินชไตน์นักปรัชญาด้านภาษา)
ที่ชอบเป็นพิเศษคือบทความที่ว่าด้วย “ภาพกาก” (poor image), สถาบันแห่งการวิพากษ์, คนหาย, ฟาสซิสม์, และบทความสามชิ้นปิดเล่มที่พูดเรื่องศิลปะในฐานะ “occupation” (ทั้งในความหมาย อาชีพ และ การยึดครอง) การเมืองของศิลปะ และศิลปะกับฟาสซิสม์ -
ถ้าชอบ ศิลปะ เทคโนโลยี การเมืองสังคม แนะนำเลยคีบ
คนเขียน จีเนียส และมีมุมมอง ต่อความเป็นไปของโลก โคตรแหลมคม
มันแหลมคม แบบ แอบจิกกัด และชาญฉลาด
อ่านยากไหม ถ้าเคยอ่าน หนังสือ อ ธเนศ อ เก่งกิจ อ วีระ หรือ ฟูโก้ มา ผมว่า ก้ยากและไม่รู้เรื่องพอกัน 555
เล่มนี้อ่านได้แค่วันละบท เพราะใช้พลังงานดารตีความเยอะ
แนะนำครับ ยอมใจสำนักพิมพ์ ที่เลือก เล่มนี้มาแปลและพยายามแปล เจ๋งดี -
ดีมากๆ (ๆๆๆ) เปิดโลกมากๆ แม้จะอ่านแล้วเก็ทบ้าง ไม่เก็ทบ้างก็เถอะ 5555 ชอบความรอบรู้และการเชื่อมโยงข้ามศาสตร์ต่างๆ ของฮิโตะแล้วเอามา articulate ประเด็นวิพากษ์ได้น่าตื่นเต้นมาก เป็นหนังสือที่อยากกลับมาอ่านซ้ำอีกหลายๆ รอบ ติดท็อปเล่มโปรดของปีนี้แน่นอน อยากให้ทุกคนได้อ่านกันครับ
-
Disclaimer: ทาง สนพ. ซอย soi ส่งเล่มนี้มาให้อ่านเพื่อแลกกับรีวิวอย่างตรงไปตรงมา อ่านรีวิวฉบับเต็มได้ทาง Facebook
★★★☆ โดยรวมให้ 3.5 ดาว (ส่วนของเนื้อหา+รูปเล่ม ให้ 4 ดาว, การแปล 2.5 ดาว)
เล่มนี้เป็นรวมเล่มบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล (Hito Steyerl) ผู้กำกับและศิลปินชาวเยอรมัน รวม 16 ชิ้น เกี่ยวกับประเด็��ร่วมสมัยที่หลากหลายตามหัวเรื่อง ทั้ง arts, media, เทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ การเมือง อ่านแล้วรู้สึกสนุกกับการได้เห็นกรอบทฤษฎีที่เราคุ้นเคยมาใช้เป็นเลนส์ในการมองแวดวงที่เราสนใจ จุดที่เอนจอยมากๆคือการเปิด reference งานศิลปะ และภาพยนตร์ต่างๆ ที่ฮิโตะเอามาใช้ประกอบการอ้างอิงการอภิปรายตลอดทั้งเล่ม คนชอบดูหนัง/เสพงานศิลป์น่าจะเอนจอยมากๆ
บทที่ชอบ (เราอ่านข้ามไปข้ามมาตามความสนใจ):
🌺ข้อแก้ต่างให้ภาพกาก: บทความนี้ถือว่าเป็น introduction to Hito 101 ที่ดีมากๆเลย เพราะนอกจากจะย่อยง่ายที่สุดแล้วจากทั้ง 16ชิ้น เราจะได้ทำความคุ้นเคยกับ แนวคิด คอนเซปต์ต่างๆที่เราจะได้พบเจออีกครั้งในบทความอื่นๆตลอดทั้งเล่ม รวมถึงสไตล์การเขียนของฮิโตะ ค่ะ
🌺ก่อร่างสร้างสารการประท้วง
🌺การเมืองของศิลปะ: ศิลปะร่วมสมัยและการเปลี่ยนผ่านไปสู่สภาวะหลังประชาธิปไตย
🌺ภาษาของสรรพสิ่ง อันนี้ซับซ้อนมากกก อ่านแล้วจะเป็นลม แต่เราชอบตัวอย่างที่เขายกมาอภิปรายนะ
ความรู้สึกโดยรวมคือ มันยากมาก และสำนวนแปลก็ไม่ได้เอื้อต่อการทำความเข้าใจขนาดนั้น ยังแอบทื่อไปหน่อย แต่เราเข้าใจนะว่าคอนเซปต์บางอย่างภาษาไทยก็ไม่มี เลยยิ่งต้องขยายความจนโครงสร้างประโยคชวนงงไปหมด (สำนวนแปลไทยยังคงรูปประโยคแบบภาษาอังกฤษเอาไว้ ทำให้อ่านแล้วรู้สึกไม่ลื่นไหล) ต้องใช้พลังงานในการอ่านซ้ำไปซ้ำมาและเพ่งสมาธิเพื่อการทำความเข้าใจไปเยอะมากกก (มีหลายคนเลยที่หลังไมค์มาบอกเราว่าจะอ่านแล้วมึนจนจะอ้วก 555) อ่านหนึ่งบทเหมือนไปเข้าเรียนเลคเชอร์วิชาสังคมวิทยา 3 ชม. เวียนหัวจะเป็นลม เราจดโน้ตเยอะมาก รวมๆเป็นสิบหน้าเอสี่ได้ พอดีช่วงที่ได้อ่านเป็นยุคที่ล็อคาวน์หนักๆพอดี มีเวลาและสมาธิเยอะค่ะ
แต่ถามว่าโดยเนื้อหามันดีมั้ย ดีมากๆ สนุกมั้ย ก็สนุกมากๆเหมือนกัน ใครอยากอ่านก็ค่อยๆอ่านไปนะคะไม่ต้องรีบร้อน เพราะถ้าไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมวิทยา หรือปรัชญาการเมืองมาเลยเล่มนี้อาจจะยากไปหน่อย จริงๆถ้าใครพออ่านภาษาอังกฤษได้ อยากให้ไปลองเสาะแสวงหาบทความต้นฉบับมาอ่านดู (บางชิ้นมีให้อ่านฟรีออนไลน์) จะเข้าใจง่ายกว่าเยอะมากๆ ทั้งนี้ ด้วยความที่งานบางชิ้นก็เข้าถึงได้ยากจริงๆ พอทางสำนักพิมพ์มีรวมเล่มมาให้แบบนี้ก็เป็นข้อดีอยู่เหมือนกัน
ขอทิ้งท้ายด้วยอีกจุดที่ชอบคือ วิธีการจัดเรียงหน้ากระดาษอ่านง่าย เก๋ดี ชอบที่ย้ายเชิงอรรถมาอยู่ข้าง ๆ พอรู้สึกสงสัยปุ๊บ มีคำอธิบายประกบปั๊บ คิดว่าช่วยเสริมความเข้าใจได้ดีในระดับนึงเลยทีเดียว -
/ยากแต่ดี เป็นความยากที่คุ้มค่าในการอ่าน ตอนอ่านแล้วลืมเรื่องอื่นๆ ไปเลยเพราะต้องตามความคิดในบทความให้ทัน สนุกมาก บทความของฮิโตะในเล่ม ใจความหลักๆ คือเรื่อง การเมือง แต่เป็นการผสมผสานหลายศาสตร์เข้ามาเพื่อตีประเด็นให้ครอบคลุมและเข้าใจง่าย (?) ไม่สิ ต้องบอกว่าให้เราแตกแขนงความคิดให้ไกลกว่าเดิมว่าการเมืองมันผสมผสานเข้าไปในเรื่องอื่นๆ ได้อย่างไร รวมไปถึงสังคม เทคโนโลยี ศิลปะ ทุกอย่างผสมผสานเข้ามาด้วยมุมมองใหม่ๆ กรอบเลนส์ใหม่ๆ ที่อ่านแล้วแต่อุทานว่า คิดแบบนี้ได้ไงวะ การเชื่อมโยงแบบนี้แม่งโครตประหลาด แต่ถามว่าซื้อมั้ย เออ ซื้อ มีหลายบทความที่อ่านแล้วยังไม่เข้าใจทั้งหมด (อาจจะเกินองค์ความรู้ไปหน่อย) แต่ก็มีหลายบทความที่ชอบมากๆ
ข้อแก้ต่างให้ภาพกาก/สแปมของดาวโลก/ภาษาของสรรพสิ่ง/การเมืองผ่านพร็อกซี่/คนหาย (คิดได้ไงว่าเอาทฤษฎีชเรอดิงเงอร์มาเชื่อมโยงกับคนหาย)/ทำไมต้องเกม หรือคนผลิตงานศิลปะสามารถคิดได้หรือไม่ (บ้าบอ จิกกัดคนวงการศิลปะได้แสบสุด)/ศิลปะในฐานะอาชีพและการยึดครอง (พูดถึงเรื่องงานกับอาชีพ การเปลี่ยนผ่านของงานกลายเป็นอาชีพ ทั้งด้านมิติแรงงาน ชนชั้น และเหลื่อมล้ำ เชี่ย เก่ง)/ ถ้าพวกคุณไม่มีขนมปังกินก็กินงานศิลปะแทนสิ! (ศิลปะเป็นอีกหนึ่งสกุลเงินได้อย่างไร เชี่ย แนวคิดน่าสนใจมากๆ)
จริงๆ เป็นเล่มที่อยากให้หลายคนอ่านนะ แต่ก็กลัวแนะนำไปแล้วหลายคนปาหนังสือทิ้งด้วยเหมือนกัน 55555 ภาษามันอ่านยากอะ ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะมันคงแปลยากแหละ หลายศัพท์ หลายคำที่มันไม่มีคำไทย หรือใช้คำไทยแล้วมันยิ่งงง การที่สนพ. จัดหน้ากระดาษให้มีขอบข้างๆ แล้วมีfootnote (ในที่นี่ต้องใช้คำว่า sidenote?) ทำให้การอ่านง่ายขึ้นมากจริงๆ ไม่ต้องพลิกหน้ากระดาษไปมาด้วย (แถมมีพื้นที่ให้จดความคิดเยอะดี)